INTERVIEWS
More information: https://www.aclc-asia.com/training-coaching-news
INTERVIEWS
More information: https://www.aclc-asia.com/training-coaching-news
For official website, please click http://www.aclc-asia.com
Coaching Programs:
—————————————————
For other programs and services, please click our official website:
—————————————————
Official website, please click:
บทความโดย ดร.อัจฉรา จุ้ยเจริญ
Official website, please click: http://www.aclc-asia.com
คำถามที่ได้รับบ่อยครั้ง จากผู้เข้าอบรมคือ “ทำอย่างไรดี อยากบอกให้หัวหน้าปรับปรุงตัว แต่ไม่กล้าบอก” ดิฉันมักถามก่อนว่า “คิดอย่างไรจึงไม่บอก” คำตอบที่มักได้รับคือ ไม่อยากทำเกินหน้าที่ลูกน้อง เพราะไม่แน่ใจว่าหัวหน้าจะรับได้ไหม
หากมองความกังวลนี้ จากมุมมองด้านวัฒนธรรมที่แตกต่าง ก็พอจะเข้าใจได้ เมื่อประมาณสามสิบกว่าปีที่แล้ว นักจิตวิทยาสังคมที่มีชื่อเสียง Geert Hofstede ซึ่งเคยทำงานอยู่ที่ IBM ได้ศึกษาความแตกต่างด้านวัฒนธรรม โดยสำรวจจากพนักงานในองค์กรข้ามชาติใน 40 ประเทศ และได้สรุปความแตกต่างออกมาหลากมิติ และหนึ่งในนั้นคือ ความแตกต่างด้านระยะห่างของอำนาจ (Power Distance) ความหมายของข้อต่างนี้คือ ยิ่งดัชนีระยะห่างน้อย (Low Power Distance) มุมมองของคนยิ่งมีแนวโน้มไปในทางที่ว่า บุคคลในองค์กรมีความเท่าเทียมกันมาก และได้รับโอกาสในการแสดงความเห็นและร่วมตัดสินใจได้มาก โดยไม่ต้องกังวลเรื่องตำแหน่ง หรือความอาวุโส ในทางตรงกันข้าม เมื่อดัชนีระยะห่างสูง (High Power Distance) ผู้ที่เป็นลูกน้อง ก็มักจะเห็นว่า ควรทำตามคำสั่ง มิบังอาจไปบอกหรือแนะนำหัวหน้าว่าควรทำอย่างไร
ด้านหนึ่งที่ช่วยคลี่คลายให้บรรยากาศการพูดคุยเปิดเผยเกิดขึ้นได้ คือกำหนดวัฒนธรรมการสื่อสารที่องค์กรต้องการ องค์กรมองว่า วัฒนธรรมรูปแบบใดจากสองแบบที่กล่าวมา เป็นสิ่งที่องค์กรอยากปลูกเสริม เพื่อการสื่อสารและการร่วมงานกันที่มีประสิทธิผล ก็ควรทำให้ทั้งผู้บริหารและบุคลากรเข้าใจตรงกันและนำไปปฏิบัติ
ด้านวิธีการพูดของลูกน้อง ขอแบ่งปันเทคนิคดังนี้
เข้าใจสไตล์การสื่อสาร (Graphic)
ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
DISC On-line Assessment for Recruitment and Development
โทร +662 197 4588-9
Email: info@aclc-asia.com
Official Website, please click
ในการพัฒนาภาวะผู้นำ เมื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ ที่สำคัญของผู้นำจากแหล่งต่างๆ จะเห็นคล้ายกันว่า สิ่งสำคัญที่ผู้นำในองค์กรควรทำคือ การสื่อสารที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้บุคลากรในองค์กร ร่วมด้วยช่วยกันอย่างหมดใจ ในการสร้างอนาคตที่ดีขึ้นไปอย่างต่อเนื่องขององค์กร
วันที่รับตำแหน่งผู้นำ จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า การสื่อสารเป็นความรับผิดชอบอันหนึ่งที่ตามมาทันที หัวข้อหลักๆ ที่ผู้นำควรสื่อสาร มิใช่ใครอื่น มีห้าหัวข้อดังนี้
Official website, please click
http://www.coachtrainingasia.com
Contact us:
Tel. +66 2197 4588-9
Email: info@aclc-asia.com
การเผชิญสถานการณ์ที่ฝรั่งเรียกว่า Think on Your Feet หมายถึงอะไร
สถานการณ์ที่เราต้อง Think on Your Feet เป็นสถานการณ์การสื่อสารที่จัดการยาก ในการสื่อสาร เช่นตัวอย่างดังต่อไปนี้
เมื่อเราสามารถคิดและสื่อสารได้เข้าใจง่าย ตรงประเด็น และจูงใจให้เกิดผลลัพธ์ ไม่ว่าจะมีเวลาเตรียมตัวหรือไม่ มักส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของตนเอง ความเข้าใจที่ตรงกัน และความสัมพันธ์ที่ดี
Think on Your Feet® Recognized world-wide as the best communication workshop taught today.
©Copyright – Exclusively delivered in Thailand by AcComm & Image International.
แอคคอมฯ เป็นที่เดียวในประเทศไทยที่ได้รับลิขสิทธิ์การถ่ายทอดหลักสูตร Think on Your Feet® ในประเทศไทย อย่างถูกกฎหมาย
Official website, please click: http://www.aclc-asia.com
Official website, please click:
http://www.coachtrainingasia.com
การนำเสนอที่มีประสิทธิผลอาจเป็นเครื่องมือสำคัญในการโฆษนาสินค้าและบริการ และโน้มน้าวการตัดสินใจของลูกค้าได้ทันที เทคนิคในการเตรียมการนำเสนอที่จะแบ่งปันวันนี้คือ เทคนิค 3 ส และ 3 ป
ขั้นตอนที่ 1 สืบค้นและ รู้จักผู้ฟังหรือลูกค้าให้ลึกซึ้ง
เราสามารถเริ่มจากการตั้งคำถาม เช่น ผู้ฟังของเราชอบอะไร ไม่ชอบอะไร ทำไมเขาถึงมาฟังเรา อะไรเป็นเรื่องที่ทำให้เขาสนใจเป็นพิเศษ คุณช่วยแก้ปัญหาที่เขาเผชิญอยู่ได้อย่างไร คุณอยากให้เขาปฏิบัติอย่างไรหลังจากฟังคุณจบแล้ว
วัฒนธรรมของผู้ฟัง เน้นการตรงเวลาเป๊ะมากกว่าการสานสัมพันธภาพ หรือเน้นสัมพันธภาพมากกว่าตรงเวลา ท่านจะได้วางแผนเปิดปิดการนำเสนอ และเผื่อเวลาในการเปิดโอกาสให้สื่อสาร ซักถามมากน้อยเหมาะสม
ในการสื่อสาร คำพูดใดที่ไม่ควรใช้ เพราะจะเป็นการดูหมิ่นวัฒนธรรมนั้น อีกทั้งการสื่อสารทางภาษากายที่ควรระวังในวัฒนธรรมนั้นคืออะไร เช่น การชี้ การเชิญ การทักทาย การส่งเอกสาร การกล่าวทักทายผู้ฟังเจ้าถิ่นควรเรียนรู้ว่าจะกล่าวทักทายอย่างไร เมื่อปิดการนำเสนอและพูดคุยกัน ควรเตรียมของขวัญไปด้วยหรือไม่ และของขวัญที่ควรหลีกเลี่ยงคืออะไร เช่น ชาวมาเลเซีย ของขวัญที่ไม่ควรนำไปคือ แอลกอฮอล์ มีด กรรไกร ควรใช้มือขวาในการส่งของและรับของ รวมถึงการเชิญ การชกกำปั้นเข้าที่ฝ่ามืออีกข้างหนึ่งเป็นท่าทางที่ไม่สุภาพสำหรับวัฒนธรรมนี้
ขั้นตอนที่ 2 สร้างสัมพันธภาพ ค้นหาความเหมือน
ในความต่าง ย่อมมีความเหมือน เริ่มต้นด้วยการเกริ่นถึงสิ่งที่เราและผู้ฟังมีความคล้ายหรือเหมือนกัน เพื่อเป็นการสร้างมิตรสัมพันธ์เบื้องต้น เช่น ประสบการณ์หรือเป้าหมาย
ขั้นตอนที่ 3 สร้างสรรค์ หัวข้อใหญ่ให้ดึงดูดใจ
หัวข้อที่น่าสนใจสำหรับกลุ่มผู้ฟัง การตรึงผู้ฟังไว้ได้จนจบ เช่น แทนที่จะใช้ชื่อผลิตภัณฑ์หรือสินค้าของบริษัทเป็นหัวข้อใหญ่ คุณอาจปรับชื่อหัวข้อให้โดนใจกลุ่มผู้ฟัง เช่น “ลดต้นทุนกับบริการ ABC” หรือ “คุณจะรักษาฐานลูกค้าของคุณได้อย่างไร”
ขั้นตอนที่ 4 เปิดการสื่อสาร ให้น่าติดตาม
การทักทายด้วยภาษาของผู้ฟังเป็นการสร้างมิตรสัมพันธ์ที่ดี นอกจากนี้การเรียบเรียงคำพูดช่วงต้นให้ผู้ฟังเห็นว่า เนื้อหาของคุณจะพาเขาจากสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ไปสู่สิ่งที่แตกต่างในตอนจบ จะช่วยให้ผู้ฟังอยากติดตามเหมือนภาพยนตร์ ที่คนดูอยากรู้อยากเห็นว่าจะจบอย่างไร
ขั้นตอนที่ 5 สื่อสารโดยป้อนสีสันของข้อมูลสนับสนุนให้จดจำได้ง่าย
ถึงแม้การนำเสนอจะเป็นทางการ คุณยังใส่สีสันในการใช้ภาษาของคุณได้ เพื่อสร้างการค้นหา เทคนิคเช่น
ขั้นตอนที่ 6 ปิดการสื่อสารอย่างประทับใจ
ปิดท้ายด้วยการสรุปหัวข้อใหญ่ หัวข้อย่อยและเอ่ยอีกครั้งอย่างชัดเจนว่า ผู้ฟังจะได้รับสิ่งที่ดีขึ้นหรือแตกต่างอย่างไรจากสินค้าและบริการของเรา ระบุให้เห็นว่าภาพแห่งความสำเร็จของเขาเป็นอย่างไรและแนะนำให้เขาลงมือทำอะไรเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด
***************
Think on Your Feet(R) หลักสูตรการสื่อสารอย่างมีประสิทธิผล ในทุกสถานการณ์
(Exclusively delivered in Thailand by AcComm & Image International)
For more information: https://www.aclc-asia.com/think-on-your-feet-training-thai