©2017 Copyright – All rights reserved. AcComm & Image International
For more information:
ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณติดต่อ 02 197 4588 -9
Email. info@aclc-asia.com
Official website: http://www.aclc-asia.com
©2017 Copyright – All rights reserved. AcComm & Image International
For more information:
ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณติดต่อ 02 197 4588 -9
Email. info@aclc-asia.com
Official website: http://www.aclc-asia.com
อบรมภาวะผู้นำ – Leadership Development
หลักสูตรการพัฒนาภาวะผู้นำ ผู้บริหาร และผู้จัดการ ของเรา ได้รับการยอมรับให้บรรจุเป็นหลักสูตรประจำหรือบังคับ (Compulsory Program) โดยองค์กรชั้นนำ และองค์กรที่ได้รับรางวัลต่างๆมากมาย
ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณติดต่อ 02 197 4588 -9
Email. info@spg-asia.com
รายละเอียดหลักสูตร click www.spg-asia.com
พัฒนาภาวะผู้นำ
บทความ โดย ดร.อัจฉรา จุ้ยเจริญ
หนึ่งในความหมายของ “ภาวะผู้นำ” คือความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ใต้บังคับบัญชาของตนเอง โดยสร้างแรงบันดาลใจได้ และนำให้พวกเขาสามารถบรรลุผลลัพธ์ของงานและองค์กรได้ “การพัฒนาภาวะผู้นำ” จึงเป็นเรื่องที่องค์กรให้ความสำคัญอันดับแรกๆ มาตลอด ภาวะผู้นำ สามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ อย่างไรก็ตามหลากหลายองค์กร ก็ยังไม่พอใจกับประสิทธิผลของการพัฒนาในด้านนี้มากนัก อีกทั้งเห็นว่า เมื่อส่งคนไปเข้าอบรมแล้ว ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างไร หรือบางคนก็ดีขึ้นพักเดียว และกลับไปเหมือนเดิม
การอบรมภาวะผู้นำสองสามวัน อาจช่วยให้คนได้รับความรู้ถึงบทบาทหน้าที่และคุณสมบัติที่ดี (Know How) อย่างไรก็ตาม การที่จะบอกว่า คนๆหนึ่ง มีภาวะผู้นำหรือไม่ ผู้ที่บอกได้ดีที่สุด ไม่ใช่ผู้สอนในการอบรม ไม่ใช่ตัวผู้เรียนเอง แต่คือผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ตามของคนๆนั้นในการทำงานจริง หมายถึงว่า เขาได้ลงมือปฏิบัติ หรือเปลี่ยนแปลง พัฒนาภาวะผู้นำของตนเอง (Show How) ให้เป็นที่ประจักษ์ในการนำผู้ใต้บังคับบัญชาของเขาได้ด้วย
ดร. มาแชล โกลด์สมิท โค้ชผู้บริหารและภาวะผู้นำระดับโลก ได้ศึกษาการพัฒนาภาวะผู้นำขององค์กรยักษ์ใหญ่แปดองค์กรด้วยกัน ห้าในแปดองค์กรเน้นไปที่กลุ่มผู้นำที่มีศักยภาพสูง มีผู้เข้าร่วมการพัฒนาประมาณ 73 – 354 คน อีกสามองค์กรได้รวมผู้บริหารและผู้จัดการทั้งระดับกลางและระดับสูงในองค์กรเกือบทั้งหมด ประมาณ 1,528 ถึง 6,478 คน ในด้านความหลากหลายของเชื้อชาติ มีเพียงองค์กรเดียวที่เป็นผู้บริหารชาวอเมริกันทั้งหมด นอกนั้นเป็นองค์กรที่รวมผู้บริหารและผู้จัดการจากประเทศต่างๆ เข้ามาร่วมในการพัฒนาด้วย ดร.มาแชล โกลด์สมิท ต้องการค้นหาว่า อะไรที่จะช่วยให้การพัฒนาภาวะผู้นำมีประสิทธิผล และทำให้พฤติกรรมผู้นำมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน
สิ่งที่องค์กรเหล่านี้มีคล้ายกันคือ ก่อนการพัฒนา ได้มีการศึกษาล่วงหน้า ว่าผู้นำในองค์กรจะเผชิญความท้าทายอะไรบ้าง ท่ามกลางการเติบโตหรือการแข่งขันของธุรกิจ มีการระบุออกมาก่อนว่า รูปแบบและพฤติกรรมผู้นำที่องค์กรต้องการเป็นอย่างไร และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กรหรือไม่ จากนั้นปรับใช้รูปแบบและพฤติกรรมนี้เป็นแบบประเมิน 360 องศา เพื่อให้ผู้เข้ารับการพัฒนา ได้รับการประเมิน 360 องศา จากคนรอบตัว หลังจากนั้นให้แต่ละคนระบุด้านที่ตนเองควรโฟกัสในการพัฒนา แต่ละองค์กรมีรูปแบบการอบรม และการติดตามผลที่ต่างกันไป
ดร.มาแชล โกลด์สมิท (Dr. Marshall Goldsmith) ได้ศึกษาวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผล เพื่อให้คุ้มค่ากับการลงทุน และช่วยให้พฤติกรรมผู้นำในองค์กรมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีอย่างยั่งยืน สามบทเรียน จากผลการศึกษาครั้งนี้คือ
หนึ่ง การติดตามผลที่ถูกต้องมีความสำคัญ แปดองค์กรยักษ์ที่เข้าร่วมการศึกษาครั้งนี้ มีรูปแบบการอบรมที่ถึงแม้จะแตกต่างกัน แต่มีการกระตุ้นการติดตามผลที่เป็นระบบ เช่น องค์กรด้านธุรกิจการเงินแห่งหนึ่ง หลังจากการอบรมภาวะผู้นำ 5 วัน จัดให้ผู้จัดการแต่ละคนได้รับการโค้ชจากหน่วยงานบริหารทรัพยากรมนุษย์ ส่วนอีกที่ เป็นธุรกิจเภสัชภัณฑ์และสุขภาพ ผู้เข้าร่วมอบรมมีตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง และผู้จัดการรวมกว่าสองพันคน มีการอบรมภาวะผู้นำ หนึ่งวันครึ่ง จากนั้นมีที่ปรึกษาจากภายนอกมาช่วยกระตุ้นและติดตามผล
เนื่องจากภาวะผู้นำ เป็นเรื่องของสัมพันธภาพระหว่างผู้นำกับผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน ทุกองค์กรที่เข้าร่วมจึงมีการสนับสนุนให้ผู้เข้าอบรมทุกคนได้ติดตามผลด้วยตนเอง โดยการพูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน และผู้ใต้บังคับบัญชา ประมาณ 3 ถึง 16 คน เพื่อขอคำแนะนำดีๆ และจากนั้นมีการกลับไปถามความคืบหน้า ว่าพวกเขาสังเกตเห็นได้ถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่ผู้เข้าอบรมเหล่านี้ตั้งใจหรือไม่ แต่ก็ไม่ใช่ผู้เข้าอบรมทุกคนที่ปฏิบัติตามวิธีดังกล่าวนี้
ทีมศึกษาของ ดร. มาแชล โกลด์สมิท ได้สำรวจความเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานของผู้เข้าอบรม 11,480 คน ในช่วง 3 ถึง 12 เดือน หลังจากการอบรม รวมแล้วกว่า 86,000 คำตอบที่ได้รับ ผลที่ออกมาคือ ผู้เข้าอบรมที่ติดตามผลกับเพื่อนร่วมงานดังที่กล่าวมาอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นในยุโรป อเมริกา หรือเอเชีย ได้รับการประเมินว่า การพัฒนาของพวกเขามีประสิทธิผล หรือมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี ส่วนกลุ่มที่ไม่ติดตามผลดังกล่าวนี้ ได้รับการประเมินว่าติดลบ และไม่ค่อยมีประสิทธิผลในการพัฒนา
บทเรียนที่สอง คือ การศึกษานี้พบว่าไม่ว่าจะเป็นโค้ชมืออาชีพที่ว่าจ้างมาจากภายนอกองค์กร หรือเป็นคนในองค์กรเอง ช่วยกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกได้เหมือนๆกัน หากเป็นโค้ชในองค์กร ประเด็นที่ต้องระวังคือ การรักษาความลับ และการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ที่ทำหน้าที่โค้ช
บทเรียน ที่สาม การเรียนรู้จากการพูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน และติดตามผลอย่างต่อเนื่อง มีความสำคัญมาก มีองค์กรในกลุ่มศึกษานี้ ใช้การเรียนรู้ดังกล่าว โดยปราศจากรูปแบบอบรมที่เป็นทางการ ปรากฏว่า มีผลการพัฒนาที่ดีมากได้เช่นกัน
หากองค์กรของท่านกำลังการพัฒนาภาวะผู้นำ ให้ผู้บริหารและผู้จัดการในองค์กร หากนำวิธีการนี้มาปรับใช้ ดิฉันเชื่อว่าท่านจะได้รับประโยชน์ไม่น้อยเลย
(C) Copyright – All rights reserved.
Executive Coaching, please click:
https://leader-as-coach-training.com/2016/12/29/executive-coaching-thailand/
ติดตามบทความอื่นๆ ใน Post Today เกี่ยวกับภาวะผู้นำ Click Link:
ภาวะผู้นำสตรี: http://www.posttoday.com/biz/aec/news/305827
ปั้นผู้บริหารเก่งแบบไร้พรมแดน: http://www.posttoday.com/biz/aec/news/279068
ประเมินภาวะผู้นำได้อย่างไร (ตอนที่ 1):http://www.posttoday.com/biz/aec/column/430267
ประเมินภาวะผู้นำได้อย่างไร (ตอนที่ 2):http://www.posttoday.com/biz/aec/column/431557
AcComm & Image International – Thailand Official Affiliate of Dr. Marshall Goldsmith in Leadership Development
Official website: www.spg-asia.com
โดย ดร. อัจฉรา จุ้ยเจริญ
ปัจจุบัน องค์กรคาดหวังให้ผู้บริหารและผู้จัดการ พัฒนาภาวะผู้นำของตนอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างประสิทธิผลให้ทีม ให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง หรือเพื่อเป็นผู้นำที่สามารถสร้างแรงจูงใจในการทำงาน
การวิเคราะห์เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำ และเพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดโฟกัส การพัฒนาภาวะผู้นำนั้น ทำได้หลายแบบ เช่น ให้ทำแบบวิเคราะห์ หรือจะเก็บความคิดเห็นจากคนรอบๆตัวก็ได้ วันนี้ขอยกตัวอย่างสี่สไตล์พฤติกรรมผู้นำ และแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำ ในด้านสไตล์พฤติกรรมคร่าวๆ ดังนี้
ผู้นำสไตล์จอมบงการ สไตล์นี้ต้องการกำหนด สั่งการด้วยตนเอง และมุ่งไปที่ผลลัพธ์ของงาน จึงทำให้มองข้ามความรู้สึกได้ มักอดทนรับฟังผู้ใต้บังคับบัญชาของตนได้น้อย และมองว่าการฟังให้ครบถ้วนและสะท้อนกลับเพื่อแสดงความเข้าใจนั้น เป็นเรื่องไร้สาระและเสียเวลา ในการให้ Feedback กับลูกน้อง ก็มักจะพูดตรงแบบขวานผ่าซาก และไม่ได้สร้างสมดุลกับการให้กำลังใจ การพัฒนาผู้นำสไตล์นี้ จะว่าง่ายก็ง่าย เพราะพูดตรงๆได้เสมอ และหากคุยจากข้อเท็จจริง ก็จะเข้าใจกันได้รวดเร็ว ความท้าทายอยู่ที่ การทำให้ผู้นำสไตล์นี้ตระหนักถึงความสำคัญของการรับฟังผู้อื่น เช่นฟังให้จบก่อนตัดบท ไม่สรุปไปก่อน และกระตุ้นให้ชื่นชมผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย มิใช่ดุว่าอย่างเดียว
ผู้นำสไตล์เจ้าเสน่ห์ เป็นคนคุยสนุก ปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมแตกต่างได้เร็ว สร้างบรรยากาศการสนทนาเชิงบวก เป็นกันเอง เป็นผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ดี อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ผู้นำสไตล์นี้คุยกับผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเป็นระบบมากขึ้น ต้องส่งเสริมให้เขาวางแผน และติดตามผลการพัฒนาของผู้ใต้บังคับบัญชา เมื่อให้สัญญาแล้ว ก็ควรทำตามนั้น เพราะสไตล์นี้มีแนวโน้มขี้ลืม
ผู้นำสไตล์รักสันติ เป็นผู้ฟังชั้นยอด ให้ความเข้าอกเข้าใจผู้ใต้บังคับบัญชาของตน ประหนึ่งดูแลคนในครอบครัว ผู้นำสไตล์นี้จะทำอะไรก็จะคิดถึงความรู้สึกของผู้อื่น ความท้าทายคือ การกระตุ้นให้ผู้นำสไตล์นี้กล้าให้ Feedback กับผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม หรือมีผลงานต่ำว่าความคาดหวังอย่างตรงไปตรงมามากขึ้น ความลังเลอาจส่งผลในการเปลี่ยนแปลงพัฒนาให้ทันกาลได้
ผู้นำสไตล์ เจ้าระบบ ชอบคิดวิเคราะห์ รับฟัง มากกว่าพูด มีข้อมูลแน่นและตรวจสอบความถูกต้อง เมื่อผู้นำสไตล์นี้คุยกับผู้ใต้บังคับบัญชา ก็จะทำแบบมีแบบแผน นัดแล้วมาตรงเวลา เชื่อถือได้ แต่ในการที่ผู้นำสไตล์นี้จะร่วมงานกับผู้อื่นได้ดี ต้องพัฒนาเสริมทักษะด้านการสร้างปฏิสัมพันธ์ การชื่นชม ให้กำลังใจผู้ใต้บังคับบัญชา
การเข้าใจสไตล์ตนเอง ทำให้มีแผนที่ในการพัฒนาภาวะผู้นำของตน ไปสู่การเป็นผู้นำที่มีความสำเร็จทั้งด้านผลการปฏิบัติงานและการบริหารคนค่ะ
แบบประเมินสไตล์ภาวะผู้นำ ในราคาเป็นกันเอง พร้อมคำอธิบายและคำแนะนำในการพัฒนา
ติดต่อ +662 1974588 คุณศรัณย์
รายละเอียดหลักสูตร อบรมภาวะผู้นำ กรุณาคลิ๊กที่ www.aclc-asia.com
©Copyright – All rights reserved. AcComm & Image International
Leadership Development Affiliate of Dr. Marshall Goldsmith in Thailand
On-line Leadership Assessment Available